จำนวนการเปิดอ่าน / ครั้ง 1099
2 0

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญ

ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน

**********************

สภาพทั่วไป

ประวัติความเป็นมา

                   ในสมัยก่อนพื้นที่ภายในเขตเมืองสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มการสัญจรไปมาต้องใช้ทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ในการติดต่อค้าขายในเขตตำบลดอนกำยานนี้มีโขดอยู่โขดหนึ่งเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ  เป็นที่สูงน้ำไม่ท่วม  มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า  ต้นกำยาน  ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมขึ้นอยู่เต็มทั่วไป  ชาวบ้านจะนำมาตำเอาน้ำหรือเอาดอกไม้ชนิดนี้มาตำข้าวทิพย์เป็นประจำทุกปี  และเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า โคกกำยาน  ต่อมาได้ยกฐานะเป็นตำบล  จึงเรียกชื่อใหม่ว่า  “ดอนกำยาน”

ภูมิประเทศ

                   ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีพื้นที่บางส่วนที่เป็นที่ดอน  มีลำคลองดอนกำยานไหลผ่านตำบลในแนวเหนือ – ใต้     นอกจากนี้ภายในตำบลยังมีคลองส่งน้ำชลประทานซึ่งอยู่ในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยาตอน  2

อาณาเขต

                   ทิศเหนือ  ติดต่อตำบลบ้านโพธิ์  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากถนนสายบ้านลาดตานวล  บริเวณพิกัด  P S  154028 ไปทางทิศตะวันออกตามถนนสายมาลัยแมนถึงสวนน้ำสมอรุณ  บริเวณพิกัด  P S  165002  ไปทางทิศตะวันออกตามถนน ร.พ.ช.  สิ้นสุดที่ถนนสายมาลัยแมน ลำรางหนองเสือ บริเวณพิกัด  P S  179003  รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ  2  กิโลเมตร

                   ทิศตะวันออก  ติดต่อตำบลรั้วใหญ่  และตำบลทับตีเหล็ก  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากถนนมาลัยแมนลำรางหนองเสือ  บริเวณพิกัด  P S  179003  ไปทางทิศใต้ตามแนวคันนา  สิ้นสุดที่บ้านสะแกย่างหมู  ตำบลมะขามล้ม  อำเภอบางปลาม้า  บริเวณพิกัด P S 184945  รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ  6  กิโลเมตร

                   ทิศใต้  ติดต่อบ้านสะแกย่างหมู  ตำบลมะขามล้ม  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบ้านสะแกย่างหมู  ตำบลมะขามล้ม  อำเภอบางปลาม้า  บริเวณพิกัด  P S 185945  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวคันนา  สิ้นสุดที่ถนนสายพัฒนา  บริเวณพิกัด P S 129822  รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ  3  กิโลเมตร

                   ทิศตะวันตก  ติดต่อตำบลดอนโพธิ์ทอง  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากถนนสายพัฒนา  บริเวณพิกัด  P  S  129822  ไปทางทิศเหนือตามถนนสายมาลัยแมนถึงคลองสามเหลี่ยม  บริเวณพิกัด P S  123982  ไปทางทิศใต้ตามถนนสายมาลัยแมน  สิ้นสุดที่ถนนสายลาดตานวลบริเวณพิกัด  P S  154028  รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ  7  กิโลเมตร

เนื้อที่

                   ตำบลดอนกำยานมีเนื้อที่ประมาณ  30.213  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  18,883  ไร่

ที่ตั้ง

                   ตำบลดอนกำยาน  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรีทางทิศตะวันตก  ประมาณ  6  กิโลเมตร

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยานมี  9  หมู่บ้าน  ได้แก่

                   หมู่ที่  1          บ้านอู่ยา       

                   หมู่ที่  2          บ้านบางปลาหมอ นางสาวฉวีวรรณ  ศรีสมพันธุ์        เป็นผู้ใหญ่บ้าน           

                   หมู่ที่  3          บ้านศาลาแดง    นายพนัส         พันธุ์แตง          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                   หมู่ที่  4          บ้านวังพระนอน  นางกัญจน์ณัฎฐ์  เล่ากอที          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                   หมู่ที่  5          บ้านสามนาค     นางสาวจินตนา  คงศิริ             เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                   หมู่ที่  6          บ้านพันตำลึง     นางสาวดลพร    แพนพันธ์อ้วน    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                   หมู่ที่  7          บ้านดอนกุ่มทิพย์ นายสนิท         เรืองทอง          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                   หมู่ที่  8          บ้านคลองพะเนียง        นายไพโรจน์      จรรยาพูนทรัพย์  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                   หมู่ที่  9          บ้านหลังประตูน้ำ          นายวสกร        เจริญตั้งสินชัย    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ประชากร

                   ประชากรทั้งสิ้น  10,143  คน  แยกเป็นชาย  4,950  คน  หญิง  5,193  คน  จำนวนครัวเรือน  3,576  ครัวเรือน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  335  คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล  ณ  เดือน  มกราคม  2564  จากสำนักงานทะเบียนราษฎรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี)

ตารางแสดงข้อมูลจำนวนประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน

สภาพทางสังคม

การศึกษา

สถานศึกษาสอนชั้นอนุบาลถึงโรงเรียนระดับประถมศึกษา  จำนวน   3  แห่ง  ดังนี้
โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  จำนวน  1  แห่ง  ดังนี้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  5  แห่ง   ดังนี้

สาธารณสุข

                             1  สถานพยาบาลเอกชน                          1        แห่ง

                             2  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพฯ                2        แห่ง

                             3  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                9        แห่ง

                             4  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                       2        แห่ง

                             5  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ  100

การบริการพื้นฐาน

การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมภายในตำบล  อาศัยเส้นทางคมนาคมทางบกโดยทางรถยนต์  มีเส้นทาง

คมนาคมที่สำคัญในตำบล  ได้แก่

                   – ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  321  ผ่านตำบลสนามชัย  ท่าพี่เลี้ยง  รั้วใหญ่  ดอนกำยาน  บางกุ้ง  ดอน

โพธิ์ทอง  สวนแตง  และตำบลศาลาขาว

                   – ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  322  ผ่านตำบลดอนกำยาน  บ้านโพธิ์  สระแก้ว  สนามคลีและตำบลตลิ่งชัน

                   – ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  3260  ผ่านตำบลรั้วใหญ่และตำบลดอนกำยาน  เข้าเขตอำเภอบางปลาม้า

                   – ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  357  เลี่ยงเมืองตะวันตก  ผ่านตำบลท่าระหัด  ตำบลดอนกำยานและตำบลดอน

โพธิ์ทอง

                   – ถนน รพช. หมายเลข  2062 (บ้านอู่ยา – ท้ายสนามบิน)

                   – ถนน รพช. หมายเลข สพ.2066 (บ้านท้ายสนามบิน – บ้านบางปลาหมอ)

                   – ถนน รพช. หมายเลข สพ.2072 (บ้านดอนโพธิ์ทอง – บ้านวังพระนอน)

                   – ถนน รพช. หมายเลข สพ.4014 (บ้านมะขามล้ม – บ้านสามนาค)

                   – ถนน รพช. หมายเลข สพ.4157 (บ้านสามนาค – บ้านสามเหลี่ยม)

                   การไฟฟ้า

                   มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน

                   การประปา

                             1  บ่อน้ำตื้น                    จำนวน           8        แห่ง

                             2  บ่อน้ำโยก                   จำนวน           2        แห่ง

                             3  บ่อน้ำบาดาล               จำนวน           2        แห่ง

                             4  ประปาหมู่บ้าน             จำนวน           7        แห่ง

                             5  คลองชลประทาน           จำนวน           6        แห่ง

                   โทรศัพท์

                   ปัจจุบันทุกหมู่บ้านใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

                   ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ  ครุภัณฑ์

                   ไปรษณีย์วัดป่าเลไลยก์

ระบบเศรษฐกิจ

                   1 การเกษตร

                   การผลิตที่สำคัญของตำบล  ได้แก่  สาขาเกษตรกรรม  คือ  การทำนา  ทำสวน  ไม้ผล  ปลูกพืชผักและการเลี้ยง
สัตว์อาชีพเกษตรกรรมนับได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับประชาชนภายในตำบลสำหรับพืชที่ปลูกกันมาก   ได้แก่  ข้าว   พืช
ผัก   เช่น   คะน้า  กวางตุ้ง   ผักชี  ถั่วฝักยาว  แตงกวา  มันเทศ ไม้ผล  เช่น  มะม่วง  มะพร้าว  เป็นต้น  สำหรับทางด้าน
การเลี้ยงสัตว์  เกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมของครอบครัว
โดยเลี้ยงแบบปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ  สัตว์ที่เลี้ยงกันมาก  ได้แก่   ไก่  เป็ด  สุกร   นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยง
กุ้งก้ามกราม  เลี้ยงปลา  โดยเกษตรกรจะขุดบ่อเลี้ยง  เพื่อเป็นอาชีพเสริมอีกทางหนึ่ง  จะเห็นได้ว่าการประกอบอาชีพหลัก
ของประชานยังขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม  ได้แก่  การทำนา  รองลงมาได้แก่  เลี้ยงสัตว์  ปลูกผัก  ปลูกไม้ผล  เป็นต้น
                   2  การประมง

                   มีการทำประมงเป็นบางส่วนนอกจากอาชีพเกษตรกรรม

                   3  การปศุสัตว์

                   ประชาชนบางส่วนก็มีการเลี้ยงสุกร

                   4  การบริการ

                             1  หน่วยธุรกิจในเขต อบต.

                                      1.1  โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่             จำนวน   1  แห่ง

                                      1.2  โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก              จำนวน   4  แห่ง

                                      1.3  โรงสีขนาดใหญ่                              จำนวน   2  แห่ง

                                      1.4  โรงแรม                                      จำนวน   2  แห่ง

                                      1.5  ปั๊มน้ำมัน                                     จำนวน   1  แห่ง

                   5  การท่องเที่ยว

วัดวังพระนอน

วัดวังพระนอน  ตั้งอยู่หมู่ที่  4  ตำบลดอนกำยาน  ตำบลดอนกำยาน  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี 
จังหวัดสุพรรณบุรี  มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน)  ที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ในมณฑป  มีภาพ
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถที่สวยงาม  และมีประเพณีสารทไทยที่เป็นเอกลักษณ์

วัดนิเวศน์ธรรมาราม

                   วัดนิเวศน์ธรรมาราม  ตั้งอยู่หมู่ที่  5  ตำบลดอนกำยาน  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี 
วัดนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า “วัดวังยายหุ่น,วัดสามนาค,วัดบน”  มีเจดีย์หลวงปู่ใจที่ศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมักมาแก้บน
ด้วยภาพยนตร์มีพระอุโบสถ  ศาลาการเปรียญและกุฏิทรงไทยที่สวยงามและหลังวัดมีวังมัจฉา

วัดดอนกุ่มทิพย์

                   วัดดอนกุ่มทิพย์  ตั้งอยู่หมู่ที่  7  ตำบลดอนกำยาน  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี  มีบ่อ
ศักสิทธิ์เรียกกันว่า “บ่อน้ำทิพย์”  นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีประติมากรรมปูนปั้น “นรก – สวรรค์”  เพื่อ
เตือนใจให้คนหมั่นทำความดีละเว้นความชั่ว

                           

                   6  กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ

                             – กลุ่มสตรี  แม่บ้าน                                              จำนวน  8  กลุ่ม

                             – กองทุนยาและเวชภัณฑ์                                        จำนวน  1  แห่ง

                             – กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต                                   จำนวน  8  กลุ่ม

                             – กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์                                       จำนวน  5  กลุ่ม

                             – ธนาคารข้าว                                                    จำนวน  1  แห่ง

                             – ชมรมผู้สูงอายุ                                                  จำนวน  6  กลุ่ม

                             – หมอดินอาสา (กรมพัฒนาที่ดิน)                               จำนวน  8  กลุ่ม

                             – กลุ่มการเกษตรตำบลดอนกำยาน                              จำนวน  1  กลุ่ม

                             – ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ                                      จำนวน  1  ศูนย์

                             – ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข                                  จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มประชาสงเคราะห์                                         จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มผักครัวเรือนปลอดสารพิษ                                จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มโครงการส่งเสริมการเกษตรเพื่อชุมชนมีส่วนร่วม        จำนวน  1  กลุ่ม

                             – เคหะชุมชนแห่งชาติ (อู่ยา)                                    จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มเกษตรกรเพื่อชาวนา ม.1 และ ม.2                       จำนวน  2  กลุ่ม

                             – กลุ่มเกษตรกรชาวนา  ม.3                                     จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มการเกษตรกรตำบลดอนกำยาน  ม.4                     จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มเกษตรกรทำนาสามนาค ม.5                             จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มเกษตรกรบ้านพันตำลึง ม.6                               จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มโครงการเศรษฐกิจชุมชน ม.7                             จำนวน  1  กลุ่ม

                             – กลุ่มเกษตรกรบ้านคลองพะเนียง  ม.8                        จำนวน  1  กลุ่ม

                   7  แรงงาน

                   ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ  80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม  ได้แก่  ทำนา  ปลูกผัก  ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   1  สภาพภูมิอากาศ

                   สภาพอากาศโดยทั่วไป  จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านในเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ทำให้เกิดสภาพอากาศหนาวเย็น  ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านทำให้เกิดอากาศร้อน  ในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทำให้เกิดฝนตกชุก

                   2  แหล่งน้ำธรรมชาติ

                   ลำคลอง  4  สาย  ได้แก่  คลองดอนกำยาน  คลองบางปลาหมอ  (คลองลำพุทรา)  คลองสามนาค (ศาลเจ้า)  คลองสามเหลี่ยม

                   3  ขยะ

                   ปริมาณขยะปัจจุบัน  10  ตัน/วัน  รถบรรทุกขยะขนาดความจุ  8  ลูกบาศก์เมตร (งบประมาณสำนักงานการเคหะแห่งชาติ)  จำนวน  1  คัน  และรถบรรทุกขยะแบบอัดท้าย  ขนาดความจุ  10  ลูกบาศก์เมตร  (งบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)  จำนวน  1  คัน  และรถบรรทุกขยะแบบอัดท้าย  จำนวน  1  คัน (งบประมาณของ อบต.)

                   สถานที่ทิ้งขยะ  ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  5  ตำบลจระเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี  มีขนาดพื้นที่  16  ไร่  3  งาน  93  ตารางวา  อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน  31  กิโลเมตร  กำจัดโดยวิธีฝังกลบ

                   4  สถานบริการสาธารณะ  กีฬา  นันทนาการ/พักผ่อน

                             – สวนฝึกซ้อมและเล่นกีฬา                                      จำนวน  6  แห่ง

                             – ลานตากข้าว                                                   จำนวน  5  แห่ง

                             – สวนสุขภาพสำหรรบการพักผ่อน                             จำนวน  1  แห่ง

                             – ศูนย์กีฬาประจำตำบล                                         จำนวน  1  แห่ง

                             – ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                             จำนวน  9  แห่ง

ด้านการเมือง – การบริหาร

                   1  โครงสร้างการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน

                   โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ

  • สภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วย  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง  โดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง  4  ปี  ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ  และควบคุมการบริหารงานของคณะผู้บริหาร
  • นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  และนายก

องค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งไม่ใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
ตำบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกินสองคน  และอาจแต่งตั้งเลขานุการ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้  มีวาระการ
ดำรงตำแหน่ง  4  ปี  ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน  โดยมีพนักงานส่วนตำบลและ
ลูกจ้างเป็นผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายของคณะผู้บริหาร

                   2  การกำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

                   การปฏิบัติหน้าที่ราชการ  โดยให้  นางสาวนิภา  จำปาเงิน  ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  (นักบริหารงานท้อง
ถิ่น  ระดับกลาง)  เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดาของพนักงานส่วนตำบล  ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้าง  รับผิดชอบในการ
บริหารราชการภายในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกำยาน ประกอบด้วย

1. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล                  
2. กองคลัง
3. กองช่าง
4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
5. กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

Happy
Happy
100 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

คุณพลาด